all2nine

พระธาตุก่องข้าวน้อย วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำนานสะท้อนถึงความรัก

พระธาตุก่องข้าวน้อย วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำนานสะท้อนถึงความรัก
พระธาตุก่องข้าวน้อย วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำนานสะท้อนถึงความรัก

พระธาตุก่องข้าวน้อย กับตำนานที่คอยเตือนสติ ในการใช้อารมณ์และเหตุผล

พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ภายในเขต วัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่มี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นเจดีย์เก่า ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ซึ่งตรงกับช่วงปลายของกรุงศรีอยุธยา โดยเชื่อกันว่าเป็นศิลปะ ที่ได้รับอิทธิพลจากขอม ด้วยการก่อสร้างเจดีย์ด้วยอิฐ และถือปูน ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของพระธาตุ มีความแปลกตาแตกต่าง จากเจดีย์ทั่วไป ในประเทศไทย เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายกับ “ก่องข้าว” หรือกระติ๊บข้าว ที่ชาวบ้านในภาคอีสาน ใช้ในการใส่ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่หาได้ยาก และ มีความสำคัญทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ของชาวบ้านในภูมิภาคนี้

นอกจากความโดดเด่น ในด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ธาตุก่องข้าวน้อย ยังเป็นสถานที่ที่ชาวบ้าน และ นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูป ที่อยู่บริเวณด้านหลังพระธาตุ ซึ่งถูกก่อสร้างด้วยอิฐ และ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น ชาวบ้านมักจะมาสักการะ และ ปิดทองที่พระพุทธรูป ในช่วงเดือนห้าของทุกปี เพื่อเสริมสิริมงคล และ ขอพรให้ฝนตกตามฤดูกาล เพราะมีความเชื่อกันว่า หากไม่มีการสรงน้ำพระ และปิดทองตามประเพณี ฝนฟ้าจะแล้ง และ พืชผลทางการเกษตร จะไม่อุดมสมบูรณ์อย่างไรก็ตาม เรื่องราวความเป็นมา ของธาตุก่องข้าวน้อย มีตำนานที่แตกต่าง จากปูชนียสถานอื่น ๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับเรื่องราว ทางพระพุทธศาสนา แต่พระธาตุแห่งนี้ มีเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา เกี่ยวกับหนุ่มชาวนาคนหนึ่ง ที่ประสบเหตุการณ์ที่น่าเศร้า และ ผิดพลาดในชีวิต

ตามตำนานเล่าว่า ชายหนุ่มผู้หนึ่งออกไปทำนา ตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาเพล ทว่ามารดาของเขามาส่งข้าวกลางวันช้า และ อาหารที่นำมาส่งนั้น มีปริมาณน้อย ชายหนุ่มผู้หิวโหยเกิดความโกรธและ ขาดสติ ด้วยความอารมณ์ชั่ววูบ เขาได้ลงมือทำร้ายมารดาจนถึงแก่ความตาย หลังจากที่เขาได้ทานอาหารเสร็จแล้ว และ ข้าวยังเหลืออีกเป็นจำนวนมาก ชายหนุ่มจึงได้สติ และ เกิดความสำนึกผิด ในสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป ความรู้สึกผิดอันลึกซึ้ง ทำให้เขาตัดสินใจสร้างธาตุก่องข้าวน้อยขึ้นมา เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่มารดา และ ขออโหสิกรรม ต่อการกระทำของตนเอง ที่ได้ทำบาปใหญ่ถึงขั้นฆ่ามารดา นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการล้างบาป และ สร้างความสงบในจิตใจของเขา ธาตุก่องข้าวน้อยจึงกลายเป็น สัญลักษณ์ของการสำนึกผิด การขออโหสิกรรม และ การไถ่บาป ซึ่งเป็นตำนานที่สะท้อนถึงความรัก และ ความเคารพต่อบุพการีอย่างลึกซึ้ง โดยถือเป็นบทเรียนทางศีลธรรม ที่เตือนใจให้ทุกคน ดำรงตนอยู่ในความดี ไม่ปล่อยให้ความโกรธ หรือ อารมณ์ชั่ววูบมาทำลาย ความสัมพันธ์ ระหว่างตนกับคนที่รัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด

นอกจากความสำคัญ ในด้านประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมแล้ว ธาตุก่องข้าวน้อยยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ โดยในพื้นที่บ้านตาดทอง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้น ทางโบราณคดี และ พบหลักฐานที่บ่งบอกถึงการ อยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ โครงกระดูกมนุษย์ และ ภาชนะลายเขียนสีที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะแบบบ้านเชียง ถูกค้นพบในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นการยืนยัน ถึงความเก่าแก่ และ ความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าว ในฐานะศูนย์กลางของ ชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ธาตุก่องข้าวน้อยจึงไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของตำนาน และ ความเชื่อท้องถิ่น แต่ยังเป็นสถานที่ที่สะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้ นักท่องเที่ยวที่สนใจ ในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ตำนานท้องถิ่นสามารถเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ได้ตลอดทั้งปี เพื่อสัมผัสความสงบ และ แรงบันดาลใจจากเรื่องราวที่สืบทอด กันมายาวนาน

พระธาตุก่องข้าวน้อย วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำนานสะท้อนถึงความรัก

จากเรื่องราว ที่แสนเศร้าสู่เพลงที่กินใจ ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้มีพระคุณ

ตำนานเรื่อง “ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่สืบทอด และ เล่าขานมายาวนานในชุมชนบ้านตาดทอง และ บ้านทุ่งสะเดา ตำนานนี้สะท้อนถึงโศกนาฏกรรมที่เกิดจากความหิวโหย ความโกรธ และ การขาดสติของลูกชายชาวนาที่ชื่อว่า “หำทอง” ซึ่งก่อเหตุฆ่ามารดาของตนเองเพียงเพราะข้าวที่มารดา นำมาส่งดูจะน้อยไป ไม่เพียงพอต่อความหิวของเขา เรื่องราวนี้ได้รับการบันทึกไว้ ในรูปแบบของเพลงพื้นบ้าน โดย อาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ได้ประพันธ์เนื้อร้อง และ ถูกถ่ายทอดผ่านเสียงร้องของเทพพร เพชรอุบล

เนื้อเพลงนี้บรรยายถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำชี ณ หมู่บ้านตาดทองซึ่งเป็นสถานที่ที่องค์ธาตุก่องข้าวน้อยตั้งตระหง่านอยู่ ผู้คนต่างเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ในเพลงได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ไอ้ทอง ผู้เป็นลูกชาย ได้ออกไปไถนาแต่เช้าตรู่ ขณะที่รอแม่ของตนมาส่งข้าว เขาก็รู้สึกหิวจนหมดความอดทน อารมณ์โกรธเกรี้ยว ทำให้เขาโมโหที่แม่มาส่งข้าวช้า และ เมื่อแม่มาถึงกับข้าวในก่องข้าวที่ดูจะน้อยเกินไปสำหรับเขา ความโกรธก็ทวีความรุนแรง จนทำให้ไอ้ทองคว้าไถขึ้นมา และ ไล่ตีแม่จนเสียชีวิต จนได้เป็นเนื้อเพลงออกมาดังนี้

ณ ลุ่มน้ำชี ถิ่นนี้พี่น้อง หมู่บ้านตาดทองก่อตั้งนานมา

มีองค์พระธาตุที่คนบูชา ขนานนามว่า ธาตุก่องข้าวน้อย… 

ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่โตตาย หิวจนตาลาย ไถนาเหงื่อย้อย

โมโหหุนหัน จนตะวันสูงลอย ฮึดฮัดรอคอย แม่บ่เอาข้าวมา

ส่วนแม่ผู้เฒ่า เย้าเย้าวิ่งย่ำ จนตั๋วคะมำ ตกคันแทนา

กลัวลูกจะหิว รีบลิ่วแล่นมา จวนจะถึงปลายนา อยู่ท้ายปลายดอน

หำทองเอ๋ย หำทองเอ๋ย แม่มาแล้ว ข้าวกับแจ่ว ปิ้งไก่ยังฮ้อน

มากินสาอย่ามัวแง่งอน กินข้าวก่อนแดดสายพอแฮง

ทองโมโห ลุกโผขึ้นมา งุ่นง่านชี้หน้า สองตามันแดง

กูหิวแทบตาย ไถนาหลายแปลง หิวแทบลงแดง มึงมัวทำอะไร อะไร อะไร

ข้าวกะเอามาก่องน้อยน้อย สิพอน้ำย่อย กูได้จั่งใด๋

แม่บอกก่องน้อยก็ยัดจนแน่นใน กินเถิดดวงใจ อย่ามัวโกรธาหล่าเอย

ทองคว้าไถ ไล่ตีแม่ ชีวิตแม่แก่ก็มรณา เลือดแม่หยด แซมพื้นพสุธา

ทุกทั่วหล้าว่าบักทองทรพี ก่อนมันตาย ให้ใช้ค่าน้ำนม

ให้มันก่ออิฐถมเป็นองค์เจดีย์ พวกเราจึงเห็นอยู่ทุกวันนี้

นั่นแหละเจดีย์บักทองฆ่าแม่ นั่นแหละเจดีย์บักทองฆ่าแม่

พระธาตุก่องข้าวน้อย วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำนานสะท้อนถึงความรัก

ที่เที่ยวยโสธร พระธาตุก่องข้าวน้อย เจดีย์เก่าแก่ อาณาจักรขอม

พระธาตุกับภาคอีสาน เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน เพราะ พระธาตุเป็นสัญลักษณ์ของศรัทธา และ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มี ความสำคัญมายาวนาน วันนี้เราจะพาทุกคน เดินทางไปยังเมืองยโสธร เมืองโบราณที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี และ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี จุดหมายของเราคือ “ธาตุก่องข้าวน้อย” ซึ่งมีความแตกต่าง และ น่าสนใจมากกว่าพระธาตุทั่วไปที่เราคุ้นเคย ถ้าอยากรู้ว่าธาตุแห่งนี้มีความพิเศษอย่างไร เตรียมตัวปักหมุด และ ตามเราไปค้นหาคำตอบกันได้เลย

ธาตุก่องข้าวน้อย” หรือที่รู้จักในชื่อเต็มว่า “พระธาตุก่องข้าวน้อย” เป็นเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ตั้งอยู่ที่ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เจดีย์นี้สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23-25 หรือในยุคอยุธยาตอนปลาย สถาปัตยกรรมของพระธาตุ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากเจดีย์ทั่วไป เพราะมีลักษณะเหมือน “ก่องข้าว” หรือภาชนะใส่ข้าวของชาวนา ตัวพระธาตุเป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม ย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ทำให้ธาตุก่องข้าวน้อยมีความโดดเด่น ทางด้านศิลปะ และ ประวัติศาสตร์อย่างมาก

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแค่ความงดงาม ของเจดีย์เท่านั้น ที่บริเวณด้านหลังของพระธาตุยังมีพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้าน ให้ความเคารพนับถือ เป็นอย่างมาก ในช่วงเดือนห้า หรือเดือนเมษายนของทุกปี จะมีผู้คนมากมายทั้งชาวบ้าน และ นักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการะ สรงน้ำ และปิดทองพระพุทธรูปองค์นี้ เพราะ มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีสรงน้ำ และ ปิดทองพระในช่วงเวลานี้ ปีนั้นอาจจะประสบภัยแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ธาตุก่องข้าวน้อย ไม่ใช่เพียงแค่สถานที่ท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม แต่ยังเป็นแหล่งสะท้อนถึง ประวัติศาสตร์ และ ความเชื่อของชุมชนที่มีมาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าถ้ามีโอกาส ได้มาเยือนยโสธรแล้ว สถานที่แห่งนี้ไม่ควรพลาดเลย ซื้อหวย

Share:
More Posts