ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย หญิงแกร่งสิบทิศ ศูนย์รวมใจของชาวโคราช
หญิงไทยใจกำแหง ดาบก็แกว่ง เปลก็ไกว สู้ศึกไม่หวั่นไหว เกียรติกำจาย กระเดื่องดิน” เนื้อเพลงนี้สะท้อนถึงความกล้าหาญ และ เกียรติยศของวีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่ ท้าวสุรนารี หรือที่ชาวโคราชรู้จักกันดีในนาม “ย่าโม” วีรสตรีที่เสียสละชีวิต และ ความสุขส่วนตัวเพื่อปกป้องบ้านเมืองในยามสงคราม ท่านเป็นสัญลักษณ์ แห่งความแข็งแกร่งของหญิงไทย ความกล้าหาญของย่าโมกลายเป็นตำนานที่เล่าขาน และ เป็นที่เคารพรักของชาวโคราชและชาวไทยทั่วประเทศทุกวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี ชาวนครราชสีมา และ ผู้คนจากทั่วสารทิศ จะมารวมตัวกันเพื่อร่วมพิธีแสดงความกตัญญู และ สดุดีวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของย่าโม วีรสตรีผู้เคยนำพาชาวบ้านลุกขึ้นต่อสู้ปกป้องชาติไทยในปี พ.ศ. 2369 เหตุการณ์นี้เป็นการตอกย้ำถึงความสามัคคี และ ความกล้าหาญของย่าโม และ ชาวโคราชในการยืนหยัดต่อสู้ศัตรู แม้จะมีเพียงอาวุธพื้นบ้าน และ กำลังใจที่แน่วแน่
เมื่อย่าโมสามารถ รวบรวมกำลังพล และ ขับไล่กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ในการศึกที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จนนำมาซึ่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชาติไทย ท้าวสุรนารี ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ไทย ว่าเป็นผู้หญิงผู้กล้าหาญที่ยอมสละชีวิต และ ทุกสิ่งเพื่อความสงบสุข และ ความมั่นคงของบ้านเมือง วีรกรรมของท่าน ได้ถูกเล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน และท่านยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูง ของชาวนครราชสีมา รวมถึงประชาชนชาวไทย ทุกคนที่เดินทางมาสักการะ อนุสาวรีย์ของท่านอยู่เสมอ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในจังหวัดนครราชสีมา มักเต็มไปด้วยควันธูปที่ไม่เคยจางหาย เป็นสัญลักษณ์ ของความเคารพบูชา และ การระลึก ถึงคุณงามความดี ที่ท่านได้มอบให้กับแผ่นดิน
ท้าวท่านสุรนารี หรือ คุณหญิงโม ได้รับพระราชทานยศ และ การยกย่อง มาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ ยังคงเป็นที่เคารพนับถือ จนถึงปัจจุบัน คุณความดีของท่าน ได้รับการยกย่องไม่เพียงแต่ในฐานะ ผู้กล้าหาญที่ปกป้องบ้านเมือง แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ แห่งความสามัคคี ความกล้าหาญ และ ความเข้มแข็งของผู้หญิงไทย ที่พร้อมเสียสละ เพื่อส่วนรวมในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาทรงวางพวงมาลา ที่อนุสาวรีย์ท้าวท่านสุรนารี เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 พระองค์ได้มีพระราชดำรัสว่า
ท้าวท่านสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติ ได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหนคือการสามัคคี รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเรา และ รอบโลกจะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกัน ชาติก็จะมั่นคง”คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสำนึกในหน้าที่ และ ความสามัคคีของประชาชนทุกคนในการปกป้อง และ สร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ โดยมีวีรกรรมของท้าวสุรนารีเป็นตัวอย่าง อันยิ่งใหญ่ที่เราควรระลึกถึงอยู่เสมอ
คาถาบูชาย่าโม ท้าวสุรนารี วีรสตรีแห่งโคราช ไหว้ขอพร ขอลูก อย่างไรให้สมหวัง
คาถาบูชาย่าโม และ วิธีไหว้ขอพรย่าโม การบูชาท้าวท่านสุรนารี หรือย่าโม วีรสตรีผู้กล้าหาญแห่งเมืองโคราช เป็นที่เคารพสักการะของคนไทย โดยเฉพาะชาวนครราชสีมา การไหว้ และ ขอพรจากย่าโมมีเคล็ดลับ และ ความเชื่อที่สืบทอดกันมา อย่างยาวนาน มาดูวิธีการไหว้บูชาท่านเพื่อเสริมสิริมงคลกัน
เคล็ดลับการไหว้ขอพรจากย่าโม
- ตั้งจิตให้แน่วแน่ – เมื่อขอพร ควรอธิษฐานในสิ่งที่ไม่ผิดศีลธรรม โดยกล่าวว่า “ขอพร” แทนการ “บน” ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสม
- เพลงโคราช – ย่าโมโปรดปรานเพลงโคราช สามารถจ้าง พ่อเพลงแม่เพลงมาขับร้องเพลงโคราชเพื่อบูชาท่านได้ บริเวณศาลาไม้ใกล้อนุสาวรีย์
- ลอดประตูชุมพล – การลอดประตูชุมพล เป็นการบอกถึงโชคลาภที่จะเข้ามาหาเรา ด้านหลังอนุสาวรีย์ถือเป็นเคล็ดลับ หากลอด 1 ครั้ง จะได้กลับมาเยือนโคราชอีก ลอด 2 ครั้ง จะได้มาทำงานที่โคราช และ ลอด 3 ครั้ง จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช
- การไหว้ย่าโมวันพุธช่วง 3 ทุ่ม – ตามความเชื่อจากกระแสรายการหนึ่ง หลายคนเชื่อว่าช่วงเวลานี้ เหมาะแก่การ ขอพรพร้อมตำหมาก ถวายย่าโม อย่างไรก็ตาม สามารถมากราบไหว้ได้ทุกเวลาที่สะดวก
- พรที่ควรขอ – สามารถขอพรในเรื่องการงาน การเงิน และขอบุตรได้ แต่ไม่ควรขอในเรื่องที่ผิดศีลธรรม และ ไม่ควรขอพรให้พ้น จากการเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเชื่อกันว่าจะไม่สมหวัง
- รักษาสัจจะ – เมื่อพรสมหวังแล้ว ควรทำตามคำที่ได้ขอไว้ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะจะช่วยเสริมสิริมงคล และ ทำให้ชีวิตราบรื่น
สำคัญที่สุดคือการทำความดี – การละเว้นความชั่ว และทำความดีสม่ำเสมอ จะช่วยเร่งผลให้พรที่ขอสมหวังได้เร็วขึ้นมากกว่าการพึ่งพา สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว
การบูชาท้าวท่านสุรนารี ไม่เพียงเสริมความเป็นสิริมงคล แต่ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อวีรสตรีผู้กล้าหาญของชาติไทย อย่าลืมทำตามคำสัญญาที่ได้ขอไว้ และ ดำรงตนอยู่ในคุณงามความดี เพื่อความสุข และ ความสำเร็จในชีวิต ซื้อหวย
พลงโคราช ท้าวสุรนารี มรดกวัฒนธรรมที่ย่าชอบ การสืบทอดศิลปะพื้นบ้าน
เพลงโคราช ถือเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่มีเพียงหนึ่งเดียว ในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นและสืบทอดมายาวนาน เฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเอกลักษณ์พิเศษในรูปแบบของการร้องเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างชายหญิงในชุมชน ลักษณะเด่นของเพลงโคราชคือ การร้องโดยไม่มีดนตรีประกอบ ใช้ภาษาโคราชท้องถิ่น มีการแต่งกายที่เรียบง่ายแต่โดดเด่น ผู้หญิงมักนุ่งโจงกระเบนและสวมเสื้อรัดรูป ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลม หรือ เสื้อเชิ้ตพร้อมกับมีผ้าขาวม้าคาดเอว ซึ่งเป็นการแต่งตัว ที่แสดงถึงความงดงาม ของวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างแท้จริงเมื่อร้องเพลงโคราช นักร้องจะใช้ท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์
คือการเอามือแตะที่แก้มในระหว่างร้องเพลง การกระทำเช่นนี้เชื่อกันว่า จะช่วยให้เสียงที่ร้องออกมาก้องกังวาน และ ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่ถูกส่งต่อกันมาแต่โบราณ และยังคงใช้กันในปัจจุบันเพลงโคราช และ ความสัมพันธ์กับย่าโมชาวโคราชทุกคน ทราบกันดีว่าเพลงโคราชเป็นสิ่งที่ “ย่าโม” หรือท้าวท่านสุรนารี วีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโคราชโปรดปรานมาก เพลงนี้ไม่ได้เป็นเพียงการแสดงความบันเทิง แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยง จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนกับย่าโม ในอดีต เพลงโคราชเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวบ้าน ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และ บอกเล่าเรื่องราวในชุมชน รวมถึงเกี้ยวพาราสีกันอย่างสุภาพ และ สนุกสนาน ซึ่งทำให้เพลงโคราชกลายเป็นสัญลักษณ์ ของความรัก และ ความอบอุ่นในสังคม
ความรักแผ่นดินความกล้าหาญของหญิงแกร่ง ความภูมิใจของ ชาวโคราช
ปัจจุบันเรายังคงเห็น การแสดงเพลงโคราช ในรูปแบบของ “การแก้บน” ซึ่งมีความหมายและความสำคัญในวัฒนธรรมไทย การแก้บนโดยการร้องเพลงโคราช เป็นสิ่งที่ยังคงสืบทอด และเห็นได้ชัดเจนในเมืองโคราช ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ลานย่าโม หรือ วัดศาลาลอย ซึ่งเป็นสถานที่หลักในการจัดการแสดง ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมักจะ มาขอพรจากย่าโม และ เมื่อสมหวังตามคำขอ พวกเขาจะว่าจ้างหมอเพลง มาร้องเพลงโคราชเพื่อแก้บน แม้ว่าเนื้อหาของเพลงในปัจจุบันจะเน้นไปที่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการแก้บนโดยตรง เช่น การพูดถึงสิ่งที่ผู้ขอมาต่อรองหรือกล่าวสัญญากับย่าโม แต่การแก้บนนี้กลับเป็นสิ่งที่ช่วยรักษา เพลงโคราชให้คงอยู่ และ เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน
เพลงโคราช การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น การเปิดใจรับฟังและเข้าใจเพลงโคราชไม่เพียงแต่จะทำให้เราได้สัมผัสถึง ความเป็นโคราช อย่างลึกซึ้งเท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนศิลปะการละเล่นที่มีคุณค่า และ สำคัญต่อวัฒนธรรมไทยอีกด้วย เพลงโคราชไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดง แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ความภาคภูมิใจในความเป็นชาวโคราช โดยการอนุรักษ์ และ สนับสนุนเพลงโคราชให้คงอยู่ เราได้ช่วยสร้างโอกาสให้ศิลปินหมอเพลง และ พ่อเพลงแม่เพลงยังคง สามารถประกอบอาชีพ และ สร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่าต่อไปในสังคม
นอกจากนี้ การแสดงเพลงโคราช ยังเป็นการเผยแพร่ และ ส่งเสริมเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักมากขึ้น การแสดงที่ลานย่าโม และ วัดศาลาลอยเป็นตัวอย่างที่ดีของการที่วัฒนธรรมพื้นบ้านสามารถเข้าถึง และ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ การรับฟังเพลงโคราชนอกจากจะเป็นการร่วมอนุรักษ์ ศิลปะการแสดงดั้งเดิม ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อย่าโม และ สืบสานวัฒนธรรม ที่ท่านชื่นชอบ ให้คงอยู่คู่เมืองโคราชต่อไป
เพลงโคราชจึงไม่ใช่เพียงแค่ เสียงเพลงแต่ ท้าวสุรนารี เป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพัน ระหว่างชาวโคราช และ วีรสตรีของพวกเขา การรักษา และ ส่งเสริมเพลงโคราชจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มรดกวัฒนธรรมนี้ ยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต เป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ความเคารพและ สืบสานวัฒนธรรมที่มีความหมาย ต่อชาวโคราช และ คนไทยทั้งหลาย
คาถาบูชาย่าโม
คาถาบูชาแบบที่ 1
ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดว่า:
“โอมพรัมมะ พรัมมะ นะโมมะ
นะโม ธัมโม ธัมโมนะ นะมะ
มะอาท้าวสุรนารี โมโมนะ”
(สวด 3 จบ)
คาถาบูชาแบบที่ 2
ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดว่า:
“พุทธังโหม ธัมมังโหม สังฆังล้อม
อันตรายาวินาศสันติ”
(สวด 3 จบ)