มาเปิดประวัติของ “พระแม่ลักษมี” เทพีแห่งความงาม ผู้ประทานพร ในด้านของความรัก และโชคลาภ ในทุก ๆ ด้าน เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งงานแบบหญิงไปสู่ขอฝ่ายชาย อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับพระแม่โพสพของประเทศไทย
ซึ่งใกล้วันสำคัญของ “พระแม่ลักษมี” เข้ามาแล้ว นั้นคือ “เทศกาลดิวาลี” (Diwali) ซึ่งในตามความเชื่อของชาวอินเดีย นั้นจะเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน เพราะถือว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่ของพวกเขา นั้นเอง
และในวันที่สามของการเฉลิมฉลองเทศกาลนั้น บ้างก็เชื่อกันว่า เป็นวันเกิดของพระแม่ ซึ่งในปีนี้ที่จะถึง ได้ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ในปีปฎิทิน ตามพุทธศักราช
ทีมงานคุณภาพของเรา จึงขออาสาพาคุณ มาทำความรู้จักกับ พระมหาเทวี ผู้ที่ชาวอินเดียนั้น ให้ความเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก และเชื่อว่าพระแม่นั้น จะประทานพรในด้านความรัก และโชคลาภให้กับที่ผู้ศรัทธา ในพระแม่ ให้ได้ประสบความสำเร็จ
ประวัติที่มาของ “พระแม่ลักษมี” ตำนานเทพแห่งความรัก และโชคลาภ ผู้ศักดิ์สิทธิ์
ตามตำนานความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์ และฮินดู เชื่อว่า “พระแม่ลักษมี” (Lakshmi) ได้มีการกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวที่เหล่าทวยเทพเทวดา และเทวตำนานอสูรกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤต โดยขณะที่ผุดขึ้นมานั้น ได้ทรงประทับนั่งในดอกบัว และพระหัตถ์ได้ถือดอกบัว ด้วย จึงได้อีกพระนามว่า “ปัทมา” หรือ “กมลา” นั้นเอง
แต่ด้วยขณะที่เทวตำนานกวนเกษียรสมุทร นั้นได้เกิดของวิเศษผุดขึ้นมาอีกตามลำดับ ซึ่งได้แก่ เพชร จันทรา พระแม่ พิษ ช้าง ม้า วัว และควายกระบือ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระแม่ ได้ทรงนำเพชรขึ้นมาก่อน ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูนั้น จึงเชื่อกันว่าพระองค์ ยังเป็นมหาเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และโชคลาภ
พระแม่จะสามารถประทานทรัพย์สิน เงินทอง ความมั่งคั่ง ร่ำรวย และความสำเร็จในการทำมาหากิน ทำมาค้าขาย การจรจาต่อรองต่าง ๆ และการประกอบธุรกิจ ให้แก่ผู้ที่เข้ามาบูชา และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ สุขภาพงามความดี คือไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี
นอกจากนี้แล้ว พระแม่ เป็นพระชายาคู่พระบารมีของพระวิษณุ ไม่ว่าพระองค์จะอวตารไปอยู่ในปางไหน ๆ พระแม่ก็จะอวตารไปเป็นชายาของพระองค์อยู่เสมอ เช่น อวตารไปเป็นพระนางสีดา ที่คู่กับพระราม อวตารไปเป็นพระนางรุกมิณี หรือพระนางธาราเทวี ที่คู่กับพระกฤษณะ เป็นต้น ด้วยความรักอันมั่นคง ยั่งยืนของทั้ง 2 พระองค์นั้น จึงทำให้ผู้คนนิยมมาขอพร ของในเรื่องความรัก เรื่องชีวิตคู่ และชีวิตครอบครัว อีกด้วย
เทวีแห่งความงาม โชคลาภ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ชาวอินเดียนิยมบูชา
ตามคติทางความเชื่อ ของชาวอินเดียได้กล่าวกันว่า พระแม่ทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ผู้เลอโฉม และทรงงามเลิศกว่าเทวนารีองค์ใด ๆ โดยรัศมีความงามแห่งองค์พระแม่ สุกปลั่ง อลังการเป็นประกายอย่างสายฟ้าแลบ และมีกลิ่นหอมจากพระวรกายของพระองค์นั้น ประหนึ่งกลิ่นดอกบัว หอมจรุงไปทั่วสวรรคาลัย ไกลถึงหลายร้อยพันโยชน์
นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่พระแม่ ทรงถืออยู่ที่เห็นกันบ่อย ๆ ที่สุด คือ “ดอกบัว” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของพระองค์ และมักจะถือดอกบัวไว้ 2 ดอก หรือไม่ก็ทรงถือ หม้อน้ำ และพระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งได้หงายลงสู่พื้น “มีเหรียญทองร่วงโปรยปราย” ลงจากใจกลางพระหัตถ์ ของพระองค์ หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อนั้นเอง เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภ และความมั่งคั่ง ร่ำรวย บางครั้งก็ทรงถืออาวุธบ้าง อย่างเช่น “จักร” อันบ่งความหมายถึง พระวิษณุเทพนั่นเอง
ส่วนพาหนะ ขององค์พระแม่ นั้นก็คือ “ช้าง” เพราะคนอินเดียนั้น ถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจมหาศาล และความมั่งคั่ง ของพละกำลัง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวาย
กำเนิด “พระลักษมี” เป็นจุดกำเนิด ในการเริ่มต้นของหญิงสู่ขอชาย
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่พระแม่ทรงงามเลิศกว่าเทวนารีใด ๆ ทำให้มีเทพเจ้า ทวยเทพและอสูรต่าง ๆ มากมายที่หมายปองพระองค์ จนองค์พระพรหมต้องเสด็จลงมารับ และให้นางเลือกคู่ ครองของตนเอง จนพระนางได้เลือกพระวิษณุ เป็นพระเทพสวามี ตรงนี้เองเป็นที่มา ของพิธีวิวาห์แบบหนึ่ง ที่หญิงต้องไปสู่ขอชายจากผู้ใหญ่ฝ่ายชายนั้นเอง หรือเป็นผู้เลือกฝ่ายชาย เพื่อที่จะเป็นสามีของตัวเอง ที่เรียกกันว่า “สยุมพร” นั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ประเพณีนี้ นอกจากจะพบได้ในอินเดียแล้ว ยังคงพบในบางจังหวัดของประเทศไทยอีกด้วย อย่างเช่นจังหวัดแพร่ แถบอำเภอสอง ก็ยังมีประเพณีทำนองนี้ ให้ได้พบเห็นอยู่บ้าง
ตำนานความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู“พระแม่โพสพ” ตามความเชื่อของไทย
ที่จริงแล้ว ได้มีความเชื่ออีกแบบหนึ่ง ของคนไทย ที่ได้มีความเกี่ยวพันกัน กับเรื่อง พระแม่ อยู่ด้วยนั้นคือ โดยสันนิษฐานได้ว่า จะมี ปางๆ หนึ่งขององค์พระแม่นั้น ที่มีชื่อว่า องค์พระธัญญลักษมี หรืออีกชื่อคือ องค์พระแม่โพสพ ที่คนไทยให้ความเคารพนับถือ กันต่อๆ มานั่นเอง
ตามตำนานได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดทุกขภัยแห้งแล้ง และกันดารขึ้นในโลกมนุษย์ เวลานั้นแสงพระอาทิตย์ ได้ร้อนแรงจนผู้คนออกจากบ้านไม่ได้ พอเมื่อถึงยามค่ำคืนบรรดาชาวเกษตรกร จึงพากันบูชา “พระวิษณุ” แต่เวลานั้นพระวิษณุ ได้บรรทมหลับอยู่ ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนต่าง ๆ ของผู้คนในโลก
แต่กับเป็น พระแม่ ทรงได้ยินคำวิงวอนของชาวโลก แต่เนื่องจากพระแม่ไม่กล้าปลุกบรรทม“พระวิษณุ” จึงแบ่งภาคกายมาเป็น “พระธัญญลักษมี” หรืออีกชื่อคือ “พระแม่โพสพ” นั้นเอง ในตามความเชื่อของคนไทย เพื่อได้ลงมาช่วยเหลือมนุษย์โลก โดยทรงนำมหาสังข์ใส้น้ำ นำมาโปรยปรายเป็นฝน ชุ่มช่ำ และเนรมิตเมล็อข้าวในนาให้เจริญงอกงาม เต็มท้องนา
การบูชาพระแม่โพสพที่เราเคยได้เรียน ได้ศึกษา ได้อ่านกันมา ก็คือการบูชาพระแม่มีในปางนี้
สำหรับใครที่สนใจบูชาพระแม่โพสพ เราได้รวบรวมคำกล่าวบูชา มาให้ดังนี้
คาถาบทสวดบูชาพระแม่ลักษมี ให้ผู้อ่านได้สวดขอพรจากพระแม่
สำหรับคาถาบทสวดบูชาของพระแม่ ได้มีคำกล่าวดังต่อไปนี้
เริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม 3 จบ
จากนั้นสวดไปถึงพระพิฆเนศวร คือ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” 3 จบ
ต่อมาให้กล่าวบทสวดไปถึง พระแม่ลักษมี ดังนี้
โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)
โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์ (3 จบ)
โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์
โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์
โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์
โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์
ยา เถวี สะระวะ ภูเตชุลักษมี รูเปณะ สัม สะถิตา นะมัส ตัสไย
นะมัส ตัสไย นะมัส ตัสไย นะโม นะมะห์
หรือ สามารถสวดคาถาบูชาพระแม่ แบบย่อ (ทางพราหมณ์)
โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะหะ